รับทำเว็บไซต์ BeoneFriendship LOGO H 170x550px
beonefriendship cover website
beonefriendship cover website m

รับทำเว็บไซต์ WordPress และ Odoo
ทั้งรูปแบบธุรกิจ, อีคอมเมิร์ช หรือองค์กร

รับทำเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์ ด้วย WordPress และ Odoo จัดทำอันดับ SEO, จัดทำระบบ ERP ด้วยระบบ odoo
เว็บบริษัท ธุรกิจขนาดเล็กขนาดใหญ่ / องค์กรทั่วไป / เว็บร้านค้าออนไลน์ E-commerce / เว็บโรงเเรม / เว็บคลินิก /  และ เว็บไซต์อื่นๆ

รับทำเว็บไซต์ รองรับSEO iphone15 Beonefriendship 1

รับทำเว็บไซต์ จากทีมงานมากประสบการณ์ มากกว่า 20 ปี

ทั้งรูปแบบเว็บที่มีมาตรฐาน เว็บไซต์ E-commerce รวดเร็ว รองรับ SEO 
ออกแบบให้เข้ากับทุกอุปกรณ์ ออกแบบภาพโดดเด่นไม่ซ้ำใคร

สร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทด้วยเว็บไซต์ ระดับมืออาชีพ

01 - ออกแบบเว็บไซต์ บริษัท

เว็บไซต์บริษัท ระบบ ERP ด้วย Odoo System ครบฟังก์ชั่นที่มีในบริษัทชั้นนำ มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ ที่ช่วยทำให้ธุรกิจของคุณ ทำงานง่ายขึ้น ไม่ว่าบริษัทใหญ่ เล็ก หรือ SME

02 - ออกแบบเว็บไซต์ บุคคลทั่วไป

เว็บไซต์ที่จะตอบโจทย์ให้กับธุรกิจของคุณ ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า และการเข้าถึงที่มากยิ่งขึ้น

03 - ออกแบบเว็บไซต์ E-Commerce

เว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ E-commerce ครบวงจร มีหน้าร้าน คลังสินค้า ระบบการชำระออนไลน์ ช่วยให้ร้านค้าของคุณ ซื้อขายได้อย่างสะดวก ง่ายต่อการจัดการ

สิ่งที่ต้องเตรียม ก่อนทำเว็บไซต์

1. Domain Name - ชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการ

การตั้งชื่อ Domain ควรตั้งให้คนอื่นจดจำได้ง่าย ยิ่งสั้น ยิ่งกระชับ จะส่งผลให้จดจำได้ง่าย สามารถตั้งได้ทั้งภาษาไทย , ภาษาอังกฤษ เช่น beone.co.th , beonefriendship.com , ไร่เพชรมาลัยกุล.com สามารถเลือกได้ว่าเราจะใช้ “นามสกุล(Top-Level Domains)” ต่อท้ายด้วยอะไร

  • .com – เป็น TLD ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้สำหรับเว็บไซต์ทางพาณิชย์และธุรกิจ
  • .co.th = commercial in thailand หมายถึง บริษัท หรือองค์กรที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  • .org – ใช้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือองค์กรที่มีเจตจำนงทางสังคม
  • .net – ใช้สำหรับเน็ตเวิร์ค (Network) และบริการที่เกี่ยวข้องกับเน็ตเวิร์ค
  • .edu – ใช้สำหรับสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัย
  • .gov – ใช้สำหรับเว็บไซต์ของรัฐบาล
  • .mil – ใช้สำหรับเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกองทัพ
  • อื่นๆ อีกมามาย เลือกให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน

ค่าใช้จ่ายสำหรับการจดชื่อโดเมน

การซื้อโดเมนหรือจดชื่อโดเมนสามารถซื้อจากผู้จำหน่ายใดก็ได้ ซึ่งในปัจจุบบันมีให้เลือกมากมาย
 – ผู้ให้บริการจากต่างประเทศ name.com , GoDaddy , Namecheap , Bluehost , HostGator , Google Domains , Dynadot , Hostinger เป็นต้น
ผู้ให้บริการจากประเทศไทย เช่น hosatom , porar , rak-com เป็นต้น

ค่าใช้จ่ายสำหรับการจดโดเมนขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ และนามสกุล (Top-Level Domains)  จะมีราคาแตกต่างกันเช่น

.com จะมีค่าบริการอยู่ที่ 400 – 500 บาท ต่อปี
.co.th จะมีค่าบริการอยู่ที่ 800-1000 บาท ต่อปี
.net จะมีค่าบริการอยู่ที่ 800-900 บาท ต่อ
ปี

 

2. Hosting - โฮสหรือเซิฟเวอร์ สำหรับเก็บไฟล์และสร้างฐานข้อมูล

Hosting หมายถึง การให้บริการพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ (server) เพื่อให้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันอื่น ๆ สามารถเข้าถึงและใช้งานได้บนอินเทอร์เน็ต โดยทั่วไปแล้ว การ hosting เว็บไซต์จะมีบริการที่รวมอยู่ในการเช่าดังนี้

  • เก็บข้อมูล: เซิร์ฟเวอร์จะเก็บข้อมูลและไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ เช่น HTML files, images, videos, databases, และอื่น ๆ

  • การให้บริการทางเครือข่าย: เซิร์ฟเวอร์จะมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต และให้บริการให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านเบราว์เซอร์

  • การจัดการ DNS: บางบริการ hosting จะรวมการจัดการ DNS (Domain Name System) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้แปลงชื่อโดเมนเป็นหมายเลข IP เพื่อเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์

  • การรองรับและบริการ: บริการ hosting อาจรวมการสนับสนุนและบริการเสริมอื่น ๆ เช่น บริการอีเมล์, การสำรองข้อมูล (backup), ระบบความปลอดภัย (security), และอื่น ๆ

ค่าใช้จ่ายสำหรับเช่าโฮส

บริการ hosting มีหลายประเภทตามลักษณะของการให้บริการ ขึ้นกับความต้องการของเว็บไซต์ หลักๆจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ

  • Shared Hosting: การใช้พื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ร่วมกับผู้ใช้อื่น ๆ โดยแบ่งทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ให้กับผู้ใช้หลายคน เช่น 
     – 10 GB SSD Disk Space
     – Unlimited Domain Add-ons
     – Unlimited Data Transfer
    ผู้ให้บริการจะไม่ระบุสเปคของเครื่อง Server ให้เนื่องจากเป็นการ Shared ทรัพยากรของเครื่องมาแม่งให้เช่า Host ประเภทนี้จะมีราคาต่อปีไม่สูงมาก มีตั้งแต่ หลักร้อยจนไปถึงหลักพันบาท ต่อปี

  • Cloud VPS Hosting (Virtual Private Server): การให้บริการพื้นที่บนเซิร์ฟเวอร์ที่มีการแบ่งแยกทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ให้แต่ละลูกค้า เหมือนเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือน เช่น
    – 2GB Memory
    – 1 vCore Processor
    – 20GB SSD
    – 1 IP Address
    – 100 Mbps Port Speed
    – Unlimited Data Transfer
    ผู้ให้บริการจะระบุสเปคการทำงานของเครื่อง Server ให้โดยแบ่งตามจำนวนที่เราเลือก ราคาจะขึ้นอยู่กับ ความเร็วซีพียู , พื้นที่เก็บ ข้อมูล  , ความจุของแรม เป็นต้น จะมีราคาตั้งแต่ 4,000 – 8,000 บาทต่อปี สำหรับผู้ใช้เบื้องต้น

  • Dedicated Server Hosting: การให้บริการเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพียงหนึ่งเซิร์ฟเวอร์สำหรับลูกค้าเดียว เช่น
    – Intel Xeon E3-1220
    – Memory 16GB
    – Storage 2 x 2TB SATA3
    – Port Speed 1 Gbps
    ผู้ให้บริการจะให้เช่าเครื่อง Server ทั้งเครื่อง โดยที่เราไม่ต้องลงทุนซื้อเครื่องเองและไม่ต้องบำรุงรักษาเอง จะได้ประสิทธิภาพของเครื่อง Server อย่างเต็มที่ เหมาะสำหรับองค์กรณ์ใหญ่ๆหรือทำเว็บไซต์ที่ต้องรองรับผู้เข้าชมอย่างมหาศาล ราคาเริ่มตั้งแต่ 10,000 – หลักแสน ต่อปี

3. Web Page - ระบบสำหรับการทำเว็บไซต์ เช่น CMS , ERP

ระบบที่ไว้ทำหรับจัดทำเว็บไซต์มีหลากหลาย มีทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบที่พัฒนาขึ้นมาเอง ปัจจุบันระบบที่เป็นที่นิยมคือระบบ CMS (Content Management System) ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งและใช้งานได้อย่างง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค๊ด

CMS ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ  WordPress เป็น CMS ที่เป็น Open Source สามารถใช้งานได้ฟรีมีผู้พัฒนาและใช้งานทั่วทุกมุมโลก ใช้งานง่ายมี Plugin  เสริมครอบคลุมกับความต้องการของการใช้งาน

รับทำเว็บไซต์ wordpress elementor pro beonefriendship

ERP หรือ Enterprise Resource Planning (ระบบการบริหารทรัพยากรองค์กร) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ขององค์กรใหญ่ ๆ ที่มีการดำเนินธุรกิจอย่างซับซ้อน โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นระบบฐานข้อมูลที่รวมข้อมูลและกระบวนการทางธุรกิจต่าง ๆ ในองค์กรลงในระบบเดียว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและควบคุม ปัจจุบัน ERP ได้พัฒนาจนสามารถจัดทำเว็บไซต์ เพื่อตอบสนองกับองค์กรหรือธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์

รับทำเว็บไซต์ odoo website beonefriendship

4. Email Server - อีเมลเฉพาะตัวสามารถตั้งชื่อได้เอง

เมื่อเรามี Domain Name แล้วสามารถใช้ชื่อ Email ที่เป็น Domain ของเราและสามารถตั้งชื่ออะไรก็ได้ตามที่อยากตั้ง ไม่จำเป็นต้องเป็น @gmail.com , @hotmail.com , @outlook.com  เช่น เรามีโดเมนชื่อว่า beone.co.th เราก็สามารถตั้งชื่อให้กับอีเมลที่เราต้องการตั้งได้ เช่น
     admin@beone.co.th  , s1@beone.co.th
จะตั้งชื่ออะไรก็ได้ตามที่เราอยากตั้งและสามารถรับส่งอีเมลได้ตามปกติตามที่เราตั้งไว้

เมื่อมาถึงส่วนระบบจัดการอีเมล โดยทั่วไปแล้ว Hosting ทุกจ้าวจะมีระบบ Email Server ให้….แต่! หน้าตาการใช้งานเราจะไม่คุ้นชินและมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ส่งแนบไฟล์บางสกุลไม่ได้ , ส่งแนบไฟล์ขนาดใหญ่ไม่ได้ , มีพื้นที่เก็บข้อมูลน้อย เรามักจะถนัดกับการใช้อีเมลที่มีผู้ให้บริการคือ  Google , Microsoft หรือ hotmail เราสามารถซื้อบริการ Email Server กับของสองจ้าวนี้และนำไปใช้กับผู้ใช้งานของเราที่เป็นชื่อ Domain ของเราได้

ในส่วนของ Google จะเรียกบริการนี้ว่า Google Workspace โดยจะมีแพคเกจให้เลือกตามการใช้งานของเราสามารถซื้อเป็นรายเดือนหรือรายปีได้

รับทำเว็บไซต์ google workspace package beonefriendship

ส่วนของ Microsoft จะเรียกบริการนี้ว่า Microsoft 365 โดยจะมีแพคเกจให้เลือกตามการใช้งานของเราสามารถซื้อเป็นรายเดือนหรือรายปีได้

รับทำเว็บไซต์ mocrosoft 265 package beonefriendship

5. CDN - Content Delivery Network ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์

CDN หรือ Content Delivery Network (เครือข่ายการส่งเนื้อหา) เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเนื้อหาต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต โดยการกระจายเนื้อหาของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ใกล้กับผู้ใช้งาน เพื่อลดการเกิดความล่าช้าในการโหลดและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการข้อมูล

หลักการทำงานของ CDN คือเมื่อผู้ใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่ใช้ CDN จะมีเซิร์ฟเวอร์ CDN ทำหน้าที่ส่งเนื้อหาไปยังผู้ใช้งานจากที่ใกล้ที่สุดตามตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้งาน ซึ่งทำให้เนื้อหาสามารถโหลดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความสำคัญของ CDN ได้แก่:

  1. ประสิทธิภาพการโหลด: การใช้ CDN ช่วยลดความล่าช้าในการโหลดข้อมูล เนื่องจากเนื้อหาจะถูกส่งจากเซิร์ฟเวอร์ที่ใกล้ที่สุดกับผู้ใช้งาน

  2. การลดโหลดบนเว็บเซิร์ฟเวอร์: การใช้ CDN ช่วยลดภาระการทำงานของเซิร์ฟเวอร์หลัก (origin server) โดยการกระจายการร้องขอเนื้อหาไปยังเซิร์ฟเวอร์ CDN ที่ตั้งอยู่ใกล้ผู้ใช้งาน

  3. การป้องกันการโจมตี: CDN มักมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเช่น DDoS Protection ที่ช่วยป้องกันการโจมตีแบบการแทรกแทรง (DDoS) และการเชื่อมต่อที่ไม่ปลอดภัย

  4. ความเสถียร: CDN ช่วยเพิ่มความเสถียรของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันในกรณีที่มีการให้บริการตั้งแต่หลายพื้นที่ต่าง ๆ

ผู้ให้บริการ CDN ที่โด่งดัง ณ ขณะนี้คงหนีไม่พ้น Cloudflare มีประโยชน์และทำหน้าที่หลายอย่าง ที่สำคัญคือ ฟรี!!  ไม่มีค่าใช้จ่าย

Cloudflare เป็นบริการ CDN (Content Delivery Network) และอื่น ๆ ที่มุ่งเน้นในการปรับปรุงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนอินเทอร์เน็ต โดยมีฟีเจอร์และบริการหลากหลายที่สามารถให้บริการให้กับลูกค้าได้ ซึ่งรวมถึง:

  1. Content Delivery Network (CDN): Cloudflare มีระบบ CDN ที่ช่วยลดความล่าช้าในการโหลดข้อมูลโดยการกระจายเนื้อหาไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ใกล้ที่สุดกับผู้ใช้งาน

  2. Firewall แบบกั้นอินเทอร์เน็ต (Internet Firewall): Cloudflare มีบริการ Firewall ที่ช่วยป้องกันการโจมตี DDoS (Distributed Denial of Service) และการเข้าถึงที่ไม่พึงประสงค์จากผู้ใช้งาน

  3. การบริหารจัดการ DNS (Domain Name System): Cloudflare มีบริการ DNS Management ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการ DNS ของโดเมนได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ

  4. SSL/TLS Security: Cloudflare มีบริการ SSL/TLS ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานกับเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

  5. Load Balancing: Cloudflare มีบริการ Load Balancing ที่ช่วยจัดการการกระจายการโหลดของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันไปยังเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความเสถียร

  6. Web Application Firewall (WAF): Cloudflare มีบริการ WAF ที่ช่วยป้องกันช่องโหว่ในแอปพลิเคชันเว็บและป้องกันการโจมตีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บแอปพลิเคชัน

โดย Cloudflare เป็นบริการที่ให้บริการฟรีและมีแพ็กเกจที่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าที่ต้องการความสามารถเพิ่มเติม การใช้ Cloudflare ช่วยเพิ่มความเร็วในการโหลดและความปลอดภัยของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณ